โครงการ “ชั้งหัวมัน” บ้านไร่ของพ่อหลวง ร.9
เมื่อชาวเเก๊งจากราชภัฎอุดรธานีเดินทางมาศึกษาดู กับสิ่งที่พ่อสร้างไว้สำหรับ “โครงการชั่งหัวมันตามพระราชดำริ” ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านหนองคอกไก่ หมู่ที่ 5 ตำบลเขากระปุก อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี เดิมบริเวณนี้เป็นพื้นที่แห้งแล้ง เกษตรกรส่วนใหญ่นิยมปลูกพืชไร่ แต่ด้วยแนวคิดอันยิ่งใหญ่จากพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทำให้พลิกฟื้นผืนดินที่แห้งผากหวนคืนสู่ความอุดมสมบูรณ์อีกครั้ง เพื่อประโยชน์สุขของพสกนิกร
รูปโดย Jame Sirirach Samath
ความเป็นมาของโครงการ
เมื่อปลายปี พ.ศ.2551
พระบาทสมเด็จพระปรมิทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงซื้อที่ดินจากราษฎร พื้นที่ประมาณ 120 ไร่ ณ บริเวณอ่างเก็บน้ำหนองเสือ บ้านหนองคอไก่ หมู่ที่ 5 ตำบลเขากระปุก อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี ต่อมา ปี พ.ศ. 2552 ทรงซื้อแปลงติดกันเพิ่มอีก 130 ไร่ รวมพื้นที่ทั้งหมด 250 ไร่ และทรงมีดำริให้ทำเป็นโครงการตัวอย่างด้านการเกษตร รวบรวมพันธุ์พืชเศรษกิจในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรีและพื้นที่ใกล้เคียง มาปลูกไว้ที่นี่ โดยเริ่มดำเนินการ ตั้งแต่วันที่ 13 กรกฏาคม 2552 เป็นต้นมาสภาพพื้นที่โดยทั่วๆ ไป แห้งแล้ง ดินปนทรายและหินลูกรัง เจ้าของที่ดินเดิมปลูกต้นยูคาลิปไว้และตัดไม้ขายไปแล้ว มีแต่ต้นยูคาลิปที่งอกมาจากต้นตอเดิมเต็มพื้นที่ มีแปลงมะนาวเดิมอยู่ประมาณ 35 ไร่ และแปลงปลูกอ้อย 30 ไร่จึงได้พัฒนาพื้นที่ ให้เป็นแปลงปลูกพืชเศรฐกิจ ซึ่งมีทั้งพืชผักสวนครัว นาข้าว สวนไม้ผล ยางพารา มะพร้าว สัปรด พืชไร่ ฯลฯ กองงานส่วนพระองค์ ขอความร่วมมือหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนให้เข้ามาช่วยกันปรับปรุงพัฒนาพื้นที่ เช่น การทำถนนเข้โครงการ ขุดสระเก็บน้ำ ทำรั้วรอบโครงการ ก่อสร้างอาคาร และสาธารณูปโภค ติดตั้งระบบไฟฟ้าแสงสว่าง ขุดเจาะบ่อน้ำบาดาล ทำระบบชลประทาน ทำให้พื้นที่โครงการ และหมู่บ้านใกล้เคียงมีความเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว
เมื่อปี พ.ศ. 2551 เกิดเหตุการความคิดเห็นต่างกันทางการเมืองทำให้มีกลุ่มบุคคลออกมาแสดงความคิดเห็น สร้างความไม่สงบขึ้น
พระบาทสมเด็จพระปรมิทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเอาหัวมันเทศวางบนตาชั่งตั้งไว้บนโต้ะทรงงาน เพื่อเป็นคติเตือนใจ “ชั่งหัวมัน” หัวมันเทศเมื่องวางอยู่นานเข้าก็จะแตกใบ มีต้นงอกออกมา ก็ทรงให้เอาต้นมันนั้นไปเพาะเลี้ยงไว้ในเรือนเพาะชำ แล้วนำมันเทศหัวใหม่มาวางไว้บนตาชั่งแทน ทำเช่นนี้เรื่อยไป ในเรือนเพาะชำก็มีแต่ต้นมันเทศ ทรงมีดำริว่า หัวมันเทศวางไว้บนตาชั่งไม่มีดินและน้ำยังงอกได้ที่ดินแปลงนี้ มีดินและพอมีน้ำอยู่บ้างก็น่าจะปลูกมันเทศได้จึงทรงพระราชทานต้นมันเทศจากเรือนเพาะชำมาปลูกไว้ที่นี่และพระราชทานชื่อโครงการนี้ว่า
“ โครงการชั่งหัวมัน ตามพระราชดำริ ”
พระราชดำรัส
…..คนที่ได้ดูก็เห็นได้ว่า เริ่มต้นด้วยไม่มีอะไรเลย แต่ว่าต่อมาภายในวันเดียว ทุกคนที่อยู่ในท้องที่นั้นก็เข้าใจว่าต้องช่วยกัน และยิ่งในสมัยนี้ ในระยะนี้เราต้องร่วมมือกันทำ เพราะว่าถ้าไม่มีการร่วมมือกันก็ไม่ก้าวหน้า ไม่มีความก้าวหน้า ฉะนั้น การที่ท่านได้ทำแล้วมีความก้าวหน้านี้เป็นสิ่งที่ดีมาก หลักการก็อยู่ทุกคนต้องช่วยกันเสียสละ เพื่อให้กิจการในท้องที่่ก้าวหน้าไปด้วยดี ก้าวหน้าได้อย่างไรก็ด้วยการช่วยเหลือกัน แต่ก่อนนั้นเคยเห็นว่ากิจการที่ทำมีกลุ่มหนึ่งทำ และทำให้ก้าวหน้า เเต่อันนี้มันไม่ใช่กลุ่มหนึ่ง มันทั้งหมดร่วมกันทำ และก็มีความก้าวหน้าแน่นอน อันนี้ก็เป็นสิ่งมหัศจรรย์ และเป็นสิ่งที่ทำให้มีความหวัง มีความหวังว่าประเทศชาติจะก้าวหน้า ประเทศชาติจะมีความสำเร็จ…..
พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๒๑ สิงหาคม ๒๕๕๒
พอเข้าไปก็เริ่มเดินออกสำรวจ พี่ ๆ เจ้าหน้าที่ก็นำรถออกมารับเพื่อขับดูรอบ ๆ พื้นที่โครงการ พร้อมคำเเนะนำเเละที่มาที่ไปขอเเต่ละที่
รูปโดย Jame Sirirach Samath
โรงเลี้ยงโคนม
โรงเลี้ยงโคนม โครงการชั่งหัวมัน ตามพระราชดำริ เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2553 โดยนำโคนมปลดระวางจากโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา จำนวน 14 ตัว มาเลี้ยงเพื่อเป็นศูนย์สาธิตการเลี้ยงโคนมให้กับชาวจังหวัดเพชรบุรีและใกล้เคียง โดยมีเกษตรกรผู้สนใจเข้ามาศึกษาดูงานอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมีนักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชมงคลธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี เข้ามาฝึกงานการเลี้ยงโคนมกับทางโครงการฯ ด้วย สำหรับการดูแลโคนมแรกคลอดถึง 3 เดือน จะให้น้ำนมโคเป็นอาหารหลักวันละ 4 ลิตร จำนวน 2 เวลา ส่วนโคนมอายะครบ 3 เดือนจะให้อาหารหยาบ โดยปล่อยให้แทะเล็มหญ้าสดในแปลง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงให้ความสำคัญกับลักษณะพันธุ์หญ้าที่โคกิน โดยทางโรงโคนม ได้เลือกหญ้าพันธุ์แพงโกล่า เนื่องจากมีคุณค่าทางโภชนการโปรตีนสูง เป็นพืชอาหารสัตว์ชั้นดีสำหรับโค ซึ่งการกินหญ้าสดส่งผลใหสุขภาพของโคแข็งแรงดี
รูปโดย Jame Sirirach Samath
รูปโดย Jame Sirirach Samath
รูปโดย Jame Sirirach Samath
ภาพจาก นิตยสาร BAREFOOT
นอกเหนือจากพืชเศรษฐกิจในพื้นที่ ที่นี่ยังมีการปลูกไม้ผลพืชไร่และพืชผักต่าง ๆ มีแปลงสาธิตปลูกข้าวทั้งข้าวเจ้าและข้าวเหนียว ปลูกยางพารา ซึ่งทั้งหมดนี้จะเน้นไม่ให้มีการใช้สารเคมี หรือหากต้องใช้ก็ต้องมีในปริมาณที่น้อยที่สุด เรื่องของการปศุสัตว์ ก็มีการทดลองทำฟาร์มโคนม ฟาร์มไก่ และมีการใช้พลังงานจากทุ่งกังหันลมเพื่อผลิตไฟฟ้าใช้ภายในโครงการนอกจากนี้ยังทรงให้ปรับปรุงระบบระบายน้ำที่อ่างเก็บน้ำหนองเสือเพื่อใช้ในโครงการ และยังมีชาวบ้านมาสมัครเป็นลูกจ้างคอยดูแลพืชพรรณ ฟาร์มปศุสัตว์ และช่วยกันดำเนินงานต่าง ๆ ภายในโครงการ ซึ่งถือเป็นการสร้างอาชีพสร้างรายได้ให้ชาวบ้าน
บ้านพักของพ่อหลวง ร.9
ภาพจาก JoePortfolio / Shutterstock.com
รูปโดย Jame Sirirach Samath
หน่วยผลิตน้ำมันทดเเทน
ไบโอดีเซล (Biodiesel) คือ น้ำมันพืชหรือน้ำมันสัตว์ รวมทั้งน้ำมันใช้แล้วจากการปรุงอาหารนำมาทำปฏิกิรยาทางเคมีกับแอลกอฮอล์ เรียกอีกอย่างว่าสารเอสเตอร์ มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับน้ำมันดีเซลมาก และในกระบวนการผลิตยังได้กลีเซอรอลเป็นผลพลอยได้ ซึ่งสามารถนำมาใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอางค์อีกด้วย
วัตถุดิบในการผลิตไบโอดีเซล ได้แก่น้ำมันพืชและน้ำมันสัตว์ทุกชนิด แต่การนำพืชน้ำมันชนิดใดมาทำเป็นไบโอดีเซลนั้น แตกต่างกันไปตามลักษณะสภาพภูมิอากาศและภูมิประเทศ สำหรับในประเทศไทยผลิตไบโอดีเซลจากมะพร้าวและปาล์มน้ำมัน โดยผลการวิจัยในปัจจุบันพบว่าปาล์มคือพืชที่ดีและเหมาะสมที่สุดในการนำมาใช้ทำไบโอดีเซล เพราะเป็นพืชที่มีศักยภาพในการนำมาผลิตเป็นเชื้อเพลิงสูงกว่าพืชน้ำมันชนิดอื่น จากการที่มีต้นทุนการผลิตต่ำ ให้ผลผลิตต่อพื้นที่สูง
รูปโดย Jame Sirirach Samath
รูปโดย Jame Sirirach Samat
นมชั่งหัวมัน
นมชั่งหัวมัน ผลิตภัณฑ์นมสเตอริไลส์จากโครงการชั่งหัวมันตามพระราชดำริ น้ำนมโคเต็มมันเนยสเตอริไลส์ แท้ 100% จากโคนมคุณภาพดี ภายในฟาร์มโคนม ท่ามกลางธรรมชาติ และทิวเขียวที่เขียวชอุ่ม บรรจุในขวดสีสันสดใส อยู่ได้นานโดยไม่ต้องแช่เย็น ถูกเเละอร่อย สิ่งที่พอสร้าง
รูปจาก Jeban.com
สำหรับเยาวชนและประชาชนที่เข้าเที่ยวชม สามารถนำความรู้ที่ได้รับมาปรับใช้กับพืชผลการเกษตรของตนได้ ปัจจุบันโครงการชั่งหัวมันถือว่าเป็นโครงการที่มีความสำคัญต่อเกษตรกรอย่างยิ่งในการเลือกที่จะศึกษา และเป็นอีกหนึ่งแหล่งเรียนรู้ทางการเกษตรยั่งยืน รวมถึงเรื่องราวพระราชปณิธานอันยิ่งใหญ่ของพระองค์ท่านที่มีต่อชาวไทยทุกคนอีกด้วย
ก่อนกลับถ่ายรูปเก็บภาพประทับใจไว้สักนึงเเชะ ธรรมชาติ ความรู้ ความหวังดีของพ่อ ความสุข
รูปโดย Jame Sirirach Samath
การเข้าชมโครงการชั่งหัวมัน
โครงการชั่งหัวมันตามพระราชดำริ เปิดให้บุคคลทั่วไปเข้าเยี่ยมชมได้ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 09.00-16.30 น. โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น
– สำหรับการแต่งกาย เน้นสวมใส่ชุดสุภาพเป็นหลัก กางเกงขายาาว (สามารถใส่กางเกงยีนส์ได้), เสื้อสีสุภาพ เช่น ขาว ดำ เทาน้ำเงินเข้ม น้ำตาลเข้ม ตัดเย็บด้วยแบบสุภาพ
– โครงการมีรถนำชมและมัคคุเทศก์ประจำรถให้บริการฟรี โดยจะหยุดพักให้บริการงานนำชมทุกวันจันทร์ หรือหากจะเข้าชมด้วยตนเองก็มีรถจักรยานให้บริการฟรี
– ภายในโครงการมีร้านโกลเด้นเพลซ จำหน่ายอาหารว่าง เครื่องดื่ม และผลิตภัณฑ์เกษตรของโครงการฯ
– การเข้าเยี่ยมชมเป็นกลุ่มหรือคณะ ควรแจ้งจองเวลาล่วงหน้า อย่างน้อย 3 วันทำการ โดยทำหนังสือถึง ผู้จัดการโครงการชั่งหัวมันตามพระราชดำริ ในหนังสือ ระบุรายละเอียดวัน เวลา และจำนวนคน ระบุชื่อ และหมายเลขโทรศัพท์ ผู้ติดต่อประสานงาน ส่งหนังสือถึงโครงการ ทางโทรสาร หมายเลข 032 472702 หรือทางอีเมล chmrpth@gmail.com ติดต่อขอรายละเอียดเพิ่มเติม ทางโทรศัพท์ หมายเลข 032 472701, 032 472703
เรียบเรียงโดย :: Maybe
ขอบคุณขอมูล :: โครงการชั่งหัวมัน ตามพระราชดำริ (พ.ศ. 2552)
โครงการชั่งหัวมันตามพระราชดำริ เที่ยวบ้านไร่ของในหลวง ร.9
โครงการชั้งหัวมัน โดยพระราชดำริ
ขอบคุณรูปภาพสวย ๆ :: Jame Sirirach Samath