๕ โครงการหลวงในภาคเหนือ ของพ่อหลวงในรัชกาลที่ ๙
โครงการหลวง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ด้วยความที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงห่วงใยในทุกข์สุขของพสกนิกรชาวไทย ทำให้พวกเราชาวไทยได้เห็นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ไปเยี่ยมเยียนราษฎรในพื้นที่ต่างๆ อยู่เสมอ โดยเฉพาะในพื้นที่ยากจน ห่างไกล และทุรกันดาร ซึ่งพระองค์จะทรงใช้เวลาประทับอยู่ตามเขตภูมิภาคมากกว่าในกรุงเทพฯ ทั้งนี้ เพราะพระองค์ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะหาข้อมูลที่แท้จริงจากผู้ที่อยู่ในพื้นที่ เกี่ยวกับปัญหาต่างๆ ในแต่ละภูมิภาค นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงสังเกตการณ์ และสำรวจสภาพทางภูมิศาสตร์ไปพร้อมๆ กัน เพื่อจะได้รวบรวมข้อมูลทั้งหมดไว้สำหรับการพระราชทานแนวทางเพื่อการดำเนินงานโครงการตามพระราชดำริต่อไป โครงการหลวง คือ พื้นที่ดำเนินการของโครงการหลวงส่วนใหญ่ จะอยู่ในเขตภาคเหนือ เนื่องจากเป็นถิ่นที่อยู่ของชาวไทยภูเขา ซึ่งพระองค์ทรงพระกรุณาที่จะพัฒนาความเป็นอยู่ของชาวไทยภูเขาให้อยู่ดี กินดี เลิกการปลูกฝิ่น และ การทำไร่เลื่อนลอย อีกทั้งยังทรงมุ่งมั่นที่จะพัฒนาและบำรุงรักษาต้นน้ำลำธารบริเวณป่าเขา เพื่อบรรเทาอุทกภัยในเขตที่ลุ่มด้านล่าง ซึ่งการพัฒนาต่างๆ กว่าจะเกิดผล ล้วนแต่กินเวลานานนับสิบปี ซึ่งชาวไทยภูเขาเหล่านี้ ได้มีความจงรักภักดีในพระองค์ท่าน พร้อมทั้งเรียกขานพระองค์ท่านว่า “พ่อหลวง” และเรียกสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถว่า “แม่หลวง” รวมถึงเรียกโครงการของทั้งสองพระองค์ว่า “โครงการหลวง “

๑ .โครงการหลวงอ่างขาง อ.ฝาง จ.เชียงใหม่

สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเพื่อส่งเสริมอาชีพเกษตรกรรม ทดแทนการปลูกฝิ่น สถานีวิจัยแห่งแรกของโครงการหลวงอยู่บนเทือกเขาแดนลาว ตำบลแม่งอน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 1,400 เมตร และมียอดดอยสูงถึง 1,928 เมตร พื้นที่รับผิดชอบประมาณ 26.52 ตารางกิโลเมตร หรือ 16,577 ไร่ อากาศดี จัดตั้งขึ้นมาเมื่อปี พ.ศ. 2512 ตามแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชที่ว่า “ให้เขาช่วยตัวเอง” เปลี่ยนพื้นที่จากไร่ฝิ่นมาเป็นแปลงเกษตรเมืองหนาวที่สร้างรายได้ดีกว่าเก่าก่อนและไม่ผิดกฎหมายพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎร ที่หมู่บ้านผักไผ่ อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ และได้เสด็จผ่านบริเวณดอยอ่างขาง ทอดพระเนตรเห็นว่าชาวเขาเผ่ามูเซอ ซึ่งในสมัยนั้นยังไว้แกละถักเปียยาว แต่งกายสีดำ สะพายดาบ ทำการปลูกฝิ่นแต่ยังยากจน ทั้งยังทำลายทรัพยากรป่าไม้ ต้นน้ำลำธารที่เป็นแหล่ง สำคัญต่อระบบนิเวศ ซึ่งจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อส่วนอื่น ๆ ของประเทศได้


จึงมีพระราชดำริว่าพื้นที่นี้มีภูมิอากาศที่หนาวเย็น มีการปลูกฝิ่นมาก ไม่มีป่าไม้อยู่เลยและสภาพพื้นที่ไม่ลาดชันนัก ประกอบกับ พระองค์ทรงทราบว่าชาวเขาได้เงินจากฝิ่นเท่ากับที่ได้จากการปลูกท้อพื้นเมือง และทรงทราบว่าที่สถานีทดลองไม้ผลเมืองหนาว ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ทดลองวิธีติดตา ต่อกิ่งกับท้อฝรั่ง จึงทรงพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวน 1,500 บาท เพื่อซื้อที่ดินและไร่ในบริเวณดอยอ่างขางส่วนหนึ่ง ตั้งโครงการหลวงขึ้นเป็นโครงการส่วนพระองค์ เมื่อ พ.ศ. 2512 โดยทรงแต่งตั้งให้ หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี เป็นผู้สนองพระบรมราชโองการในตำแหน่งประธานมูลนิธิโครงการหลวงจนถึงพ.ศ. 2560 ใช้เป็นสถานีวิจัย และทดลองปลูกพืชเมืองหนาวชนิด ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นไม้ผล ผัก ไม้ดอกเมืองหนาว เพื่อเป็นตัวอย่างแก่เกษตรกรชาวเขา ในการนำพืช เหล่านี้มาเพาะปลูกเป็นอาชีพ ซึ่งต่อมาพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้พระราชทานนามว่า
“สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง”

การดำเนินงานของสถานี
- งานศึกษาวิจัย ไม้ผลเขตหนาว และขยายพันธุ์พืชชนิดต่างๆ
- งานเผยแพร่และฝึกอบรม เป็นแหล่งวิชาการปลูกพืชบนที่สูงที่สำคัญ เป็นสถานที่ฝึกอบรมเจ้าหน้าที่และเกษตรกรของมูลนิธิฯ
- งานพัฒนาและส่งเสริมอาชีพแก่เกษตรกร เป็นการดำเนินงานส่งเสริม และพัฒนาอาชีพแก่เกษตรกร บริเวณรอบสถานี โดยมีส่วนราชการต่างๆ ร่วมดำเนินงานในรูปคณะทำงานศูนย์พัฒนา โครงการหลวง กิจกรรมที่สำคัญได้แก่ การพัฒนาแหล่งน้ำ การวางแผน การใช้ที่ดิน การส่งเสริมการปลูกไม้ผล ผัก ชา การฟื้นฟูระบบนิเวศ การฟื้นฟูสภาพธรรมชาติ และการปลูกป่าชาวบ้าน

เเละซึ่งในช่วงเดือนมกราคมของทุกปี จะมีดอกพญาเสือโคร่งสีชมพูบานสะพรั่งไปทั่วทั้งบริเวณ จนที่อ่างขางได้รับสมญานามว่าเป็น “แดนซากุระเมืองไทย” นอกจากนี้ นักท่องเที่ยวยังสามารถชมความงามของป่าไม้นานาพรรณตามเส้นทางศึกษาธรรมชาติ พร้อมชิมและช็อปพืชผักผลไม้เมืองหนาวจากแปลงเกษตรของชาวเขาได้อีกด้วย
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : ศูนย์บริการข้อมูลนักท่องเที่ยวอ่างขาง โทร 053-969-489
๒ . โครงการหลวงบ้านวัดจันทร์ อ.กัลยาณิวัฒนา จ.เชียงใหม่

เครดิตรูป : Chanawin Photography
ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงวัดจันทร์ ตั้งอยู่ในอำเภอกัลยาณิวัฒนา จ. เชียงใหม่ ก่อกำเนิดขึ้นหลังจากที่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดลุยเดช ได้เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเยียนราษฎรชาวเขาในเขตหมู่บ้านวัดจันทร์ พระองค์ทรงทราบถึง ความยากลำบากของชาวเขาใน พื้นที่ จึงมีพระราชดำริให้มีการพัฒนาบ้านวัดจันทร์และหมู่บ้านใกล้เคียงเพื่อก่อตั้ง “ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงวัดจันทร์” ขึ้น เพื่อช่วยให้สร้างอาชีพ สร้างรายได้ ให้ราษฎร เพื่อให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นที่นี่เป็น แหล่งท่องไฮไลต์มีทิวทัศน์ ธรรมชาติสวยงาม ของป่าสนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย โดยพื้นที่โครงการหลวงวัดจันทร์ ที่คุ้นเคยของนัก ท่องเที่ยวคือ ที่องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (อปป) และอีกหนึ่งจุดคือ ที่ตั้งของศูนย์พัฒนาโครงการหลวง วัดจันทร์ จะตั้งอยู่คนละพื้นที่ แต่ทั้งสองแห่งอยู่ในพื้นที่ดูแลของโครงการหลวงเช่นกัน

เครดิตรูป : Chanawin Photography

เครดิตรูป : Chanawin Photography
ในช่วงฤดูหนาวดินแดนกลางหุบเขาแห่งนี้ จะถูกปกคลุมไปด้วยม่านหมอกและสายลมอันหนาวเย็น ไม่ว่าใครก็ตามที่ได้มาเยือนสถานที่แห่งนี้คงไม่พ้น หลงเสน่ห์กับความงาม ที่มองเห็นอยู่ตรงหน้า ที่องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (อปป) กับภาพสายหมอกลอยพริ้วปกคลุม ทิวสน และอ่างเก็บน้ำ รวมทั้งสีสันสดสวยของใบเมเปิ้ลที่พร้อมใจกันผลัด เปลี่ยนสีในช่วงฤดูหน้าวตั้งแต่เดือนธ.ค. ก.พ. บวกกับ ธรรมชาติอันอุดมงดงามและไมตรีจิตของ ชาวพื้นถิ่น ทั้งหมดนี้จะยังคงตราตรึง อยู่ในความประทับใจ ของผู้ที่ได้ไปเยือนตราบนาน เท่านาน นอกจากฤดูหนาวแล้วหากมาเที่ยวในฤดูฝนจะได้พบ กับอีกหนึ่งบรรยากาศ ที่เขียวขจีและสดชื่นในแบบฉบับของการท่องเที่ยว ช่วงกรีนซีซั่นซึ่งสวยงามไม่แพ้กัน เเถมที่พักก็สะดวกสบาย
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงวัดจันทร์ โทร 084-365-5405
๓ . โครงการหลวงแม่ลาน้อย อ.แม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องสอน

โครงการหลวงแม่ลาน้อย ตั้งอยู่ในตำบลห้วยห้อมอำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร ที่ยังคงมีความเป็นธรรมชาติ และบริสุทธิ์ อบอุ่นไปด้วยวิถีชีวิตที่งดงามของชาวเขา ในช่วงเดือน ก.ย.-ต.ค. ซึ่งป็นฤดูทำนาข้าว นักท่องเที่ยวจะได้ชมความสวยงามของนาข้าวขั้นบันได ภายในพื้นที่ของโครงการตลอดสองข้างทาง รวมทั้งชมแปลงผักปลอดสารพิษ ที่ปลูกตลอด ทั้งปี เป็นโครงการในพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระ ปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ทั้งสองพระองค์เสด็จเยี่ยมราษฎรชาวบ้านป่าแป๋และบ้านห้วยห้อม เป็นครั้งแรก ได้พระราชทาน ทุนทรัพย์จำนวน 20,000 บาท จัดตั้งธนาคารข้าวแห่งแรกของโลกต่อมาในปี พ.ศ. 2546 ได้เสด็จพระราชดำเนินมาเยี่ยมราษฎรทั้งสอง หมู่บ้านเป็นครั้งที่ 2 และทรง รับสั่งให้ประธานมูลนิธิโครงการหลวง เข้าช่วยเหลือพัฒนาอาชีพแก่ชาวเขา โดยเฉพาะด้านเกษตรกรรม สังคมและ สาธารณสุขเนื่องจากบริเวณ ดังกล่าวเป็นพื้นที่ต้นน้ำแม่ลาน้อยและแม่น้ำแม่สะเรียง มีการปลูกฝิ่นและทำไร่เลื่อนลอยอย่างกว้างขวางจนกระทั่งในปี พ.ศ. 2523 ศูนย์พัฒนา โครงการหลวงแม่ลาน้อยได้ก่อตั้งขึ้น โดยใช้พื้นที่บ้านดงเป็นที่ทำการ เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดชทรงเคยทอดพระเนตร เห็นพื้นที่แล้ว ประกอบกับเป็นที่ตั้งของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนซึ่งเป็นศูนย์กลางพัฒนาการศึกษา แก่เยาวชนในท้องถิ่น ครอบคลุม 14 หมู่บ้าน ประกอบด้วยชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง และเผ่าลั๊วะ

เครดิต : คนเดินทาง คนเดินทางดอทคอม

เครดิต : คนเดินทาง คนเดินทางดอทคอม
นอกจากนี้ไม่ไกลจากโครงการหลวงแม่ลาน้อย ยังสามารถท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่บ้านห้วยห้อมชมแปลงกาแฟอาราบิก้า พร้อมชิมกาแฟสดรสดี ผลิตภัณฑ์คุณภาพจากบ้านห้วยห้อม สวนกาแฟที่ได้รับการรับรอง GAP จากกรมวิชาการเกษตร ส่งจำหน่ายให้กับโครงการหลวง และสตาร์บัคส์ ชมการทอผ้าขนแกะของกลุ่มแม่บ้านห้วยห้อม มีทั้งผ้าทอขนแกะล้วน และผ้าทอขนแกะผสมฝ้ายที่ย้อมสีจากธรรมชาติ โดยภายในพื้นที่โครงการหลวงประกอบด้วยหมู่บ้านชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงและเผ่าลั๊วะ (ละว้า) กว่า 14 หมู่บ้าน ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถเยี่ยมชมวิถีชีวิตชาวเขาทั้งเชิงเกษตรและวัฒนธรรม พร้อมชิมกาแฟสดอาราบิก้าที่สามารถซื้อกลับไปเป็นของฝากที่ระลึกได้อีกด้วย เเถมที่พักก็สะดวกสบาย
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่ลาน้อย โทร 053-619-533-4 หรือ 083-324-3062
๔ .โครงการหลวงสะโง๊ะ อ.เชียงแสน จ.เชียงราย

ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงสะโง๊ะ ตั้งอยู่บ้านดอยสะโง๊ะ อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย การดำเนินงานของศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่สะโง๊ะเริ่มต้น ในรูปของงานอาสาพัฒนาชาวเขาตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยมูลนิธิโครงการหลวงและมหาวิทยาลัยแม่โจ้ แต่เนื่องจากการคมนาคมที่ไม่สะดวก เจ้าหน้าที่ต้องเดินทางโดยเฮลิคอปเตอร์เพียงเดือนละ 1 ครั้งเท่านั้น เมื่อไม่มีเจ้าหน้าที่ประจำงานส่งเสริมของศูนย์จึง ไม่เต็มประสิทธิภาพนัก จนกระทั่งปี พ.ศ. 2521 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้เสด็จเยี่ยมราษฎรในพื้นที่และทรง มีพระราชดำรัส ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาดูแลช่วยเหลือชาวบ้านดอยสะโง๊ะให้มากขึ้น ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยสะโง๊ะจึงก่อกำเนิดขึ้นโดยรับผิดชอบ 4 หมู่บ้าน 643 หลังคาเรือน ประชากร 2,672 คน ในพื้นที่ 38 ตารางกิโลเมตร หรือ 23,750 ไร่ มีทั้งเผ่าอีก้อ ไทลื้อ คนเมืองและไทลื้ออยู่ในดินแดนสามเหลี่ยมทองคำ เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมเยี่ยมกิจกรรมของศูนย์ฯชมแปลงสาธิตพืชผัก ไม้ดอก ไม้ผล และสมุนไพรและแปลงของเกษตรกรในพื้นที่ โดยเฉพาะแปลง ดอกเก๊กฮวยไม้ดอกขึ้นชื่อให้ผลผลิตในช่วงเดือนพ.ย.-ธ.ค. และดอกคาโมมายด์ ให้ผลผลิตในช่วงเดือนม.ค. ชมขั้นตอนวิธีการผลิตชาเก๊กฮวย รวมถึงทดลองจิบชาเก๊กฮวย และคาโมมายด์ เลือกซื้อเลือกหาผลิตภัณฑ์กลับบ้านในราคาย่อมเยา

เครดิต : www.thetrippacker.com
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงสะโง๊ะ โทร 053-163-346, 081-951-9711
๕ . โครงการหลวงปังค่า อ.ปง จ.พะเยา

เครดิต : www.thetrippacker.com
ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงปังค่า ตั้งอยู่ที่ บ้านสิบสองพัฒนา ต.ผาช้างน้อย อ.ปง จ.พะเยา มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 500-1300 เมตร อุณหภูมิเฉลี่ย 25.8 องศาเซลเซียส ลักษณะพื้นที่เป็นเนินเขาสลับกับภูเขามีที่ราบระหว่างภูเขาเล็กน้อย ครอบคลุมพื้นที่รับผิดชอบ 35026 ไร่ มีหมู่บ้านในเขตรับผิดชอบจำนวน 3 หมู่บ้าน คือ บ้านสิบสองพัฒนา บ้างปางค่าใต้ และบ้านปางค่าเหนือ ได้จัดตั้งขึ้นไนปีพ.ศ. 2530 เพื่อส่งเสริมให้ราษฎรปลูกไม้ผลเมืองหนาวทดแทนการบุกรุกป่าและปลูกฝิ่น โครงการหลวงแห่งนี้มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 640 เมตร บริเวณพื้นที่โดยรอบมีชาวเขา เผ่าม้ง และ เผ่าเย้า อาศัยอยู่ จุดท่องเที่ยวหลักๆของโครงการหลวงปังค่าคือการท่องเที่ยวเชิงเกษตร นักท่องเที่ยวสามารถเดินชมแปลงผลไม้ ไม้ดอกไม้ประดับ และพืชผักต่างๆในพื้นที่ของโครงการหลวง

เครดิต : www.thetrippacker.com

เครดิต : www.thetrippacker.com
โดยเฉพาะฟักทองยักษ์ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของโครงการหลวงปังค่า เมื่อปี พ.ศ.2551เคยมีผลผลิตหนักสุดถึง 72 กิโลกรัมเลยทีเดียว ผลผลิตทางการเกษตรทั้งหมดที่นักท่องเที่ยวสามารถชมได้จากที่โครงการหลวง ยกตัวอย่างเช่น ฟักทองยักษ์ ฟักทองสีขาว อะโวกาโด องุ่นไร่เมล็ด มะม่วง ส้มโนรีตะ ส้มคัมควอท ลิ้นจี่ (เมษายน-พฤษภาคม) แว็กซ์ฟลาวเวอร์ มะเขือการ์ตูน (ฤดูหนาว) ดอกไม้เมืองหนาว (ฤดูหนาว) กุหลาบ บัวชั้น กระเจียว พีค๊อก กะหล่ำม่วง ซุกินี่ มะเขือม่วงก้านดำ หอมญี่ปุ่น คะน้าฮ่องกง ผักกวางตุ้งฮ่องเต้ ในช่วงหน้าหนาวในช่วงเวลาที่มีผลลิตเก็บเกี่ยวมากจะมีตลาดชุมชนให้นักท่องเที่ยวมาเลือกซื้อหาผลผลิตที่เก็บมาแบบสดๆ และยังมีผลิตภัณฑ์งานหัตถกรรมชาวบ้านจำหน่าย อาทิเช่น ผ้าเขียนลายเทียน ผ้าปัก กระเป๋าใส่เงิน กระเป๋าใส่มือถือ สมุดจดบันทึกหน้าปกลายผ้าปัก เสื้อแบบเย้า เครื่องเงิน ฯ หากไปถูกจังหวะยังมีโอกาสได้เห็นวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชนเผ่าอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมท่องเที่ยวศึกษาธรรมชาติเช่นชมดอยภูลังกาเดินป่าในเส้นทางน้ำตกขุนน้ำต้มและดูนก

เครดิต : www.thetrippacker.com

เครดิต : www.thetrippacker.com
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงปังค่า โทร 054-401023, 088-410-9089
” นี้คือของขวัญจากผืนแผ่นดิน เเละ เเนวทางที่พ่อสร้างไว้ “
บทความอื่น ๆ : โครงการ “ชั้งหัวมัน” บ้านไร่ของพ่อหลวง ร.9