ไซนัสอักเสบ ชนิดเรื้องรัง… สำคัญหรือไม่?

ไซนัสอักเสบ

ไซนัสอักเสบ… สำคัญหรือไม่? พร้อมวิธีรักษาป้องกันและการดูแลตนเองเมื่อเป็นโรค

ไซนัสอักเสบ เป็นโรคที่สามารถส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้มากทีเดียว โดยจะส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจโดยตรง ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกไม่สบายตัว เหมือนคนป่วยเป็นหวัดอยู่ตลอดเวลา ซึ่งจะทำให้บุคลิกภาพดูแย่ลงอีกด้วย

เพราะฉะนั้น เราไปทำความรู้จักกันดีกว่าว่าโรคไซนัสอักเสบเกิดจากอะไร และมีวิธีรักษาป้องกันได้อย่างไรบ้าง จะได้รับมือได้เท่าทันโรคยิ่งขึ้น…

ไซนัสอักเสบ คืออะไร?

ไซนัสอักเสบ (Sinusitis) คือ โรคที่เกิดจากโพรงอากาศที่อยู่ข้างจมูกมีการอักเสบ โดยการอักเสบของโพรงอากาศที่อยู่ข้างจมูกเกิดขึ้นจากการติดเชื้อ และผู้ที่มีโอกาสที่จะเป็นโรคนี้คือ ผู้ที่ป่วยเป็นโรคหวัดตามปกติ อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยโรคหืด ก็นับเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงในการเกิดโรคไซนัสอักเสบสูง โดยมีความเสี่ยงในการเกิดโรคนี้มากถึง 50% เลยทีเดียว

โรคไซนัสอักเสบ มี 3ชนิด คือ

  • โรคไซนัสอักเสบแบบเฉียบพลัน (Acute sinusitis)

เป็นชนิดหลักๆ ที่พบได้ทั่วไป ซึ่งอาการผู้ป่วยจะค่อนข้างแย่ในช่วง 10 วันสุดท้าย แต่ส่วนใหญ่แล้วอาจจะไม่ได้เกิดจากสาเหตุที่อันตรายหรือรุนแรง

  • โรคไซนัสอักเสบแบบเรื้อรัง (Chronic sinusitis)

โรคไซนัสแบบเรื้อรังนั้นอาการจะเป็นน้อยกว่าโรคไซนัสอักเสบแบบเฉียบพลัน โดยจะมีระยะเวลาอยู่มากกว่า 12 สัปดาห์ และอาจจะต้องใช้ระยะเวลาพอสมควรในการรักษา

  • โรคไซนัสอักเสบกึ่งเฉียบพลัน (Subacute sinusitis)

โรคไซนัสอักเสบกึ่งเฉียบพลันจะมีระยะเวลาในการติดเชื้อไม่เกิน 8 สัปดาห์ และมีวิธีที่สามารถรักษาให้หายได้ง่าย

สาเหตุของโรคไซนัสอักเสบ

โรคไซนัสอักเสบ เกิดได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้

  • เชื้อแบคทีเรีย 

การติดเชื้อแบคทีเรียสามารถที่จะทำให้เกิดโรคไซนัสอักเสบได้ เพราะเป็นการติดเชื้อแบบซ้ำๆ ซึ่งแบคทีเรียที่พบได้หลักๆ อันเป็นตัวการทำให้เกิดโรคไซนัสอักเสบ คือ

  1. Streptococcus pneumonia
  2. Haemophilus influenza
  3. Moraxella catarrhalis
  4. Streptococcal species
  5. Anaerobic bacteria
  6. Staphylococcus aureus
  • โรคภูมิแพ้

ภาวะภูมิแพ้ถือเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคไซนัสอักเสบ เพราะจะทำให้เยื่อบุจมูกอักเสบและเกิดการบวมขึ้น หรือแม้แต่กระทั่งอากาศภายในที่ไหลเวียนได้ไม่ดีพอก็ส่งผลทำให้เกิดโรคไซนัสอักเสบได้เช่นกัน

  • ภาวะกรดไหลย้อน

ภาวะกรดไหลย้อนเป็นภาวะที่เกิดกรดขึ้นภายในกระเพาะ โดยจะมีการไหลย้อนของกรดในกระเพาะกลับมาที่โพรงหลังจมูก (nasopharynx) จึงทำให้กรดนี้ส่งผลกระทบต่อเยื่อบุจมูกได้ และยังสามารถส่งผลกระทบทำให้การติดเชื้อแบคทีเรียต่างๆ ได้ง่ายกว่าปกติ

สาเหตุเบื้องต้นที่กล่าวมา ถือเป็นสาเหตุที่เกิดจากการบวมของเยื่อบุจมูก (mucosal obstruction cause) เป็นส่วนใหญ่

อาการของโรคไซนัสอักเสบ มีอาการที่สามารถบ่งบอกได้เฉพาะเจาะจง คือ

  • มีอาการปวดหน่วงในบริเวณไซนัส เช่น โหนกแก้ม รอบกระบอกตา หน้าผาก หรือหัวตา
  • เมื่อเปลี่ยนท่าน้ำมูกจะไหลออก โดยจะเป็นสีเขียวหรือเป็นหนองข้นๆ
  • มีอาการแน่นจมูกอยู่ตลอด
  • ได้กลิ่นเหม็นคาวอยู่ตลอดเวลา
  • โรคไซนัสอักเสบแบบเฉียบพลัน มีอาการประมาณ 4 สัปดาห์
  • โรคไซนัสอักเสบแบบเรื้อรัง มีอาการมากกว่า 12 สัปดาห์
  • ควรพักผ่อนให้เพียงพอ
  • รักษาความอบอุ่นให้ร่างกาย
  • ประคบร้อนในบริเวณที่ปวด
  • ไม่ควรอยู่ในพื้นที่ที่มีอากาศเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

โรคไซนัสอักเสบแบ่งเป็น 2 ประเภทอย่างที่กล่าวไปข้างต้น และแต่ละประเภทก็มีระยะเวลาในการเกิดโรคแตกต่างกันดังนี้

ภาวะแทรกซ้อน โรคไซนัสอักเสบจะมีภาวะแทรกซ้อนที่สามารถแบ่งได้ คือ

  • การติดเชื้อ ผู้ป่วยโรคไซนัสอักเสบ การติดเชื้อถือเป็นอาการของภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นได้เป็นปกติ แต่การติดเชื้อก็จะค่อยๆ ดีขึ้นตามลำดับตามระยะเวลาของโรค
  • การรับรู้ด้านการสัมผัสลดลง โดยเฉพาะการสัมผัสกลิ่น ซึ่งประสิทธิภาพในการรับรู้กลิ่นจะลดลง หากก็เกิดขึ้นแค่เพียงชั่วคราวเท่านั้นหรือบางรายก็อาจจะสูญเสียแบบถาวร ในกรณีที่เกิดการอุดตันบริเวณรูจมูก ซึ่งจะทำให้เส้นประสาทสำหรับการดมกลิ่นอักเสบตามมา
  • ต่อมน้ำลายอุดตัน สาเหตุมาจากเมือกที่อยู่ในโพรงไซนัสมาอุดตันต่อมน้ำลาย ทำให้กลายเป็นไวรัส ซึ่งสามารถขยายไปสู่โครงสร้างทั่วไปภายในระบบหายใจ

วิธีรักษาโรคไซนัสอักเสบ

สำหรับการรักษาโรคไซนัสอักเสบ จะใช้วิธีรักษาทางการแพทย์เป็นหลักโดยมีวิธีคือ

  • การใช้ยารักษา โรคไซนัสอักเสบสามารถที่จะใช้ยารักษาได้ แต่จะต้องเป็นยารักษาที่อยู่ในการดูแลของแพทย์ โดยจะแบ่งกลุ่มยาที่ใช้รักษาดังนี้
  1. ยาปฏิชีวนะ ได้แก่ ยา Penicillin และยา Tetracycline
  2. ยาลดบวม สำหรับยาลดบวมนั้นจะใช้เป็นยา 2 ชนิดคือ ยาต้านการอักเสบ และยาหดหลอดเลือด
  3. ยาต้านฮิสตามีน
  4. ยาละลายมูก
  • การล้างไซนัส การล้างไซนัสจะใช้ในผู้ป่วยที่มีอาการมามากกว่า 3 สัปดาห์ โดยการล้างไซนัสจะใช้อยู่ด้วยกัน 2 วิธี คือ
  1. การล้างไซนัสโดยตรง คือ แพทย์จะทำการเจาะผนังไซนัสในช่องจมูก แล้วทำการล้างตามปกติ
  2. การล้างไซนัสด้วยเครื่องดูดเสมหะ คือ วิธีล้างไซนัสที่จะใช้สำหรับเด็ก โดยจะใช้น้ำเกลือผสมยาลดบวมในการล้าง
  • การผ่าตัด หลังจากได้รับการรักษาด้วยวิธีอื่นๆ แล้ว แต่ไม่สามารถรักษาโรคให้หายได้ แพทย์จะใช้วิธีรักษาโรคไซนัสอักเสบด้วยการผ่าตัด ซึ่งจะเรียกการผ่าตัดว่า functional endoscopic sinus surgery โดยใช้วิธีผ่าตัดผ่านกล้องไปทางรูจมูก

วิธีป้องกันโรคไซนัสอักเสบ

ในส่วนของวิธีป้องกันโรคไซนัสอักเสบ สามารถทำได้จากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ดังนี้

  • ดื่มน้ำสะอาด
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  • หลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มีมลพิษที่ส่งผลต่อระบบหายใจ

โรคไซนัสอักเสบ เป็นโรคที่สามารถส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอันตรายต่อประสาทรับรู้กลิ่น เพราะฉะนั้น เมื่อเกิดความผิดปกติควรที่จะต้องรักษาโดยด่วน

 

 

 

 

ขอบคุณบทความจาก : honestdocs

บทความอื่นที่น่าสนใจ : หน้ากาก N95 ทำเองได้จาก 2 สิ่งนี้

 

 

 

Comments

หนึ่งความเห็นตอบกลับที่ “ไซนัสอักเสบ ชนิดเรื้องรัง… สำคัญหรือไม่?”

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.