โรคคุดทะราด คืออะไร

โรคคุดทะราด คืออะไร

โรคคุดทะราด คืออะไร โรคคุดทะราด หรือเรียกกันสั้นๆในสมัยนั้นว่าคุดทะราด ชื่อภาษา อังกฤษ คือ Yaws หรือ Frambesia จัดอยู่ในประเภทเป็นโรคติดต่อเรื้อรัง มักพบได้บริเวณผิวหนังทั่วทั้งร่างกาย โดยลักษณะอาการจะเป็นๆหายๆ สามารถกลับมาเป็นซ้ำได้อีก แต่ปัจจุบันประเทศไทยและประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สามารถควบคุมโรคนี้ได้แล้ว

ประวัติความเป็นมา โดยสังเขป

โรคคุดทะราด มักพบได้ในประเทศเขตร้อน โดยประเทศไทยได้มีบันทึกทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับโรคนี้ไว้ในสมัยอยุธยา จนถึงสงครามโลกครั้งที่ 2 จากบันทึกพบว่าประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้มักป่วยเป็นโรคนี้มากกว่าพื้นที่อื่นๆ

สถานการณ์ทั่วโลก : ในปี พ.ศ. 2493 -2513 องค์การอนามัยโลก และ The United Nation’sChildren’s Fund ได้รณรงค์กวาดล้างโรคคุดทะราดโดยการรักษาด้วยยาเพนิซิลลิน ในทวีปแอฟริกา ทวีปอเมริกากลางทวีปอเมริกาใต้ ทวีปเอเชีย และประเทศในหมู่เกาะแปซิฟิก รวม 46 ประเทศ โดยผู้ป่วยมากกว่า 50 ล้านราย ได้รับการรักษาจากการรณรงค์ครั้งนี้ ทำให้ความชุกของโรคคุดทะราดทั่วโลกลดลงอย่างรวดเร็วมากกว่าร้อยละ 95 โดยเฉพาะในประเทศอินเดีย อินโดนีเซีย และประเทศไทย แต่โรคคุดทะราดกลับมาปรากฏขึ้นอีกครั้งในปี พ.ศ. 2523 ในแถบเส้นศูนย์สูตรและตะวันตกของทวีปแอฟริกา และพบการติดเชื้อกระจัดกระจายเป็นหย่อมๆ อยู่ใทวีปอเมริกาใต้และอเมริกากลาง หมู่เกาะคาริบเบียน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และบางส่วนของหมู่เกาะแปซิฟิกใต้ เนื่องจากขาดการสนับสนุนทางทรัพยากรและทางการเมืองในการกวาดล้างโรคคุดทะราดต่อมาได้มีความพยายามในการกวาดล้างโรคอีกครั้งในปี พ.ศ. 2538 ในบางภูมิภาค แต่ยังขาดการประสานงานในระดับนานาชาติอยู่ และในปี พ.ศ. 2549 ประเทศอินเดียก็ประกาศว่า ได้กำจัดโรคคุดทะราดให้หมดไปจากประเทศ

ในปัจจุบัน ความชุกของโรคคุดทะราดยังไม่ทราบแน่ชัด เนื่องจากไม่มีการรายงานโรคแบบเป็นทางการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533 แต่คาดการณ์ว่า มีผู้ป่วยโรคคุดทะราดรายใหม่ปีละประมาณ 5,000 ราย จากประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะประเทศอินโดนีเซียและติมอร์ตะวันออก ในปี พ.ศ. 2548 มีรายงานผู้ป่วยจากประเทศการ์น่า ประมาณ 26,000 ราย และมีรายงานผู้ป่วยจากประเทศ ปาปัวนิวกินีประมาณ 18,000 รายส่วนจำนวนผู้ป่วยในสหรัฐอเมริกานั้น ยังไม่ทราบแน่ชัด

สถานการณ์โรคในประเทศไทย : มีการรายงานการระบาดของโรคคุดทะราดในหมู่บ้านชนบททางภาคใต้ของประเทศไทย ในปีพ.ศ. 2533 Tharmaphornpilas P. และคณะ ซึ่งพบผู้ป่วยจำนวน 54 ราย อายุตั้งแต่ 2 -79 ปี โดยเป็นผู้ป่วยอายุน้อยกว่า 15 ปีมากถึงร้อยละ 53.7 ทำให้มีการค้นหากลุ่มนักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษาของพื้นที่ พบว่า นักเรียน 105 ราย ป่วยเป็นโรคคุดทะราดถึง 34 ราย ทำให้เกิดความตื่นตัวในการเฝ้าระวังควบคุมไม่ให้โรคคุดทะราดกลับมาระบาดอีกครั้งโดยหลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2535 – 2539 พบการรายงานผู้ป่วยโรคคุดทะราดประปรายเป็นบางปี จากทุกภาคของประเทศไทย โดยมีจำนวนผู้ป่วยไม่มากนัก ปัจจุบันไม่มีรายงานผู้ป่วยใหม่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 – 2553

โรคคุดทะราดเกิดจากอะไร

โรคคุดทะราด : เกิดจากเชื้อบัคเตรีหรือเชื้อแบคทีเรีย ที่มีชื่อว่า ทรีโพนีมา เพอร์นู Treponema pallidum pertenue และพวกสไปโรซิส มีระยะฟักตัวนานประมาณ 2 สัปดาห์ถึง 3 เดือน โดยเชื้อโรคพวกนี้แพร่กระจายได้ง่ายด้วยการสัมผัสและเชื้อมักเข้าสู่ร่างกายทางแผลบริเวณผิวหนัง

โรคคุดทะราด
Treponema pallidum pertenue

ลักษณะอาการของโรค

อาการของโรคคุดทะราดแบ่งออกเป็น 3 ระยะด้วยกัน โดยหลังจากที่เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผลแล้ว ประมาณ 3-6 สัปดาห์จะมีอาการ ดังนี้

  1. ในระยะแรก (mother yaw) บนผิวหนังจะเริ่มเป็นแผลแบบรอยย่นปูด (papilloma) ส่วนใหญ่เกิดบริเวณของใบหน้าและขา รอยโรคเป็นได้นานหลายสัปดาห์หรือเป็นเดือน มักไม่มีอาการเจ็บนอกจากมีการติดเชื้อแทรกซ้อน รอยโรคจะเพิ่มจำนวนอย่างช้าๆ และอาจทำให้เกิดรอยโรคแบบตุ่มสีม่วงคลํ้าคล้ายผลราสเบอร์รี่ (framboesial หรือ raspberry lesion) หรือตุ่มที่แตกเป็นแผลเปื่อย (ulceropapilloma) (ดังรูปที่ 1)ในระยะที่สอง หรือระยะมีการกระจายของผื่นนูน(papillomata) หรือมีจุดด่างแบบเป็นเกล็ด (ดังรูปที่ 2) ซึ่งอาการนี้จะปรากฏในช่วงระยะเวลาสั้นหลังจากการรักษารอยแผลเบื้องต้น ในฤดูร้อนบ่อยครั้งจะพบเห็นของเหลวในรอยพับของผิวและจุดนูน/ด่างเป็นจุดสนใจ (สำคัญ)รอยโรคเหล่านี้ทำให้เจ็บปวดและมักจะทำให้พิการรอยแผล paillomata และรอยลักษณะหนาคล้ายหนังคางคกบนฝ่ามือและฝ่าเท้าอาจเกิดขึ้นในระยะแรกและระยะสุดท้าย แผลจะหายเองแต่ก็เกิดแผลใหม่ขึ้นอีกในตำแหน่งอื่นได้ในระยะแรกและระยะหลัง ระยะสุดท้ายจะเกิดแผลที่มีการทำลายผิวหนังและกระดูก (ดังรูปที่ 3)ซึ่งเกิดขึ้นประมาณร้อยละ 10 – 20 ของผู้ป่วยทั้งหมดที่ไม่ได้รับการรักษาหลังจากการติดเชื้อนาน 5 ปี หรือนานกว่า โรคคุดทะราดไม่ทำให้เกิดอันตรายถึงเสียชีวิตแต่มักทำให้ร่างกายผิดรูปทรงหรือพิการได้

โรคคุดทะราด

ระยะที่ 1.มีตุ่มนูนคล้ายหูดที่ผิวหนัง ส่วนใหญ่จะเกิดบริเวณใบหน้าและขา โดยตุ่มนี้จะเรียกว่า ตุ่มแม่  รูปที่ 1แผลแบบรอยย่นปูด (papilloma) บริเวณต้นขาด้านบน ในระยะแรกของโรคคุดทะราด ที่เรียกว่า primary framboesioma หรือ mother yawรอยโรคมักเริ่มด้วยเป็นผื่นเล็กๆ ตามขาแล้วค่อยๆ ขยายใหญ่ขึ้นเป็นตุ่มคล้ายผลราสเบอร์รี่ (Initialpapillomatous yaws lesion on upper thigh also called primary framboesioma, motheryaw. Initial lesion usually commences as papule on lower extremities and slowlyenlarges to form a raspberry-like lesion)

ระยะที่ 2. เป็นระยะที่มีการกระจายของตุ่มนูน หรือมีลักษณะแผลเป็นจุดด่างแบบเกล็ด ตุ่มจะค่อย ๆ มีขนาดใหญ่ขึ้น มีลักษณะนูนแดง เป็นแผล ลักษณะตุ่มจะใหญ่โตคล้ายดอกกะหล่ำปลี และต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ใกล้ ๆ แผลอาจจะอักเสบและบวมโต ทำให้เกิดอาการไข้ขึ้นได้ในบางคน แผลอาจเป็นหนอง ตุ่มนูนและผิวหนังหนาขึ้น ลามมาขึ้นที่ฝ่ามือหรือฝ่าเท้า สร้างความเจ็บปวดอย่างมาก จนไม่สามารถเดินหรือทำงานได้ รูปที่ 2 รอยแผล paillomata ลักษณะหนาคล้ายหนังคางคก
บริเวณขาที่เกิดขึ้นในระยะแรก (Early ulceropapillomatousyaws on the leg)

 

ระยะที่ 3. ในระยะนี้จะไม่แพร่กระจายเชื้อ แต่แผลกินลึกจะลุกลามเข้าไปถึงกระดูก อาจทำให้กระดูกกุดสั้น คล้ายโรคเรื้อน อย่างไรก็ตามโรคคุดทะราดจะไม่เกิดอาการกับประสาทส่วนกลาง ตา หลอดโลหิต และอวัยวะภายในอื่น ๆ เหมือนเชื้อซิฟิลิส ทั้งนี้ โรคคุดทะราดไม่ทำให้เกิดอันตรายถึงเสียชีวิต แต่มักทำลายกระดูก ทำให้ร่างกายผิดรูปทรงหรือพิการได้ และแม้ว่าจะรักษาโรคนี้หายแล้วก็ยังสามารถกลับมาเป็นซ้ำได้อีกเรื่อย ๆ รูปที่ 3 รอยโรคที่มีการทำลายกระดูกและกระดูกอ่อนรวมทั้งจมูก (Gangosa)


การแพร่กระจาย การติดต่อ

การติดต่อ เชื้อโรคคุดทะราด จะพบอยู่ตามบาดแผลที่ผิวหนัง หรืออยู่ที่เยื่อบุช่องปากและจมูกติดต่อได้โดยการสัมผัสกับน้ำเหลือง น้ำหนองที่บาดแผลคุดทะราดโดยตรง หรือติดจากของใช้ที่แปดเปื้อนเชื้อหรืออาจติดโดยแมลงนำเชื้อโรคมาเข้าสู่ร่างกายทางรอยถลอกหรือบาดแผล ผู้ป่วยที่มีบาดแผลเป็น ๆ หาย ๆ จะแพร่เชื้ออยู่ได้นานหลายปี การป้องกันและควบคุมโรคทำได้โดยให้การศึกษาแก่ประชาชน ให้คำแนะนำเกี่ยวกับอนามัยส่วนบุคคล มีการเฝ้าระวังโรคอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งให้การรักษาผู้ป่วยและผู้ที่สัมผัสโรค

การรักษา

โดยปกติแล้วโรคคุดทะราดมีโอกาสหายได้เองในระยะแรก ๆ แต่ในกรณีที่โรคลุกลามมาระยะหลังก็สามารถรักษาได้ด้วยยาเพนิซิลลิน (Penicillin) สำหรับผู้ป่วยและผู้สัมผัสอายุ 10 ขวบขึ้นไป โดยฉีดยาเบนซาทีนเพนิซิลลิน จี (Benzathine Penicillin G) ขนาด 1.2 ล้านหน่วยเข้ากล้ามเนื้อครั้งเดียว ส่วนในเด็กอายุต่ำกว่า 1 ขวบให้ใช้ขนาดยาเพียงครึ่งเดียว ทั้งนี้ หากป่วยเป็นคุดทะราด ผู้ป่วยจะต้องรีบรับการรักษาเพื่อไม่ให้เกิดการแพร่เชื้อ และผู้ดูแลผู้ป่วยจะต้องระมัดระวังในการสัมผัสโรค

นอกจากนี้ยังนำสมุนไพรอื่น ๆ มาปรุงเป็นยารับประทาน ทั้งข้าวเย็นเหนือ ข้าวเย็นใต้ เปลือกมะรุม รากตะขบ รากมะดูก กำมะถันเหลือง ผลกระเบา ผลกระเบียง ใบมะเกลือ ใบยาสูบ ขมิ้นอ้อย ตำลึง ฯลฯ


การป้องกัน

 การควบคุมและป้องกัน โรคคุดทะราดสามารถควบคุมและป้องกัน ได้ดังนี้
1.  การป้องกันก่อนการเกิดโรค ได้โดย
1.1  ให้สุขศึกษาแก่ประชาชน ให้ทราบถึงการติดต่อของโรค และการป้องกันโดยการรักษาความสะอาดของร่างกาย
1.2  หมั่นดูแลรักษาสุขภาพ และไม่ใช้เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่มร่วมกับผู้ป่วย
2.  การควบคุมและป้องกันเมื่อเกิดโรคขึ้น ได้โดย
2.1  รักษาร่างกายให้สะอาด และทำความสะอาดบาดแผลอย่างดี
2.2  ทำลายเชื้อโรคโดยต้มภาชนะเครื่องใช้ หรือแช่ในน้ำยาฆ่าเชื้อหรือเผาสำลีและผ้าพันแผลที่เปรอะเปื้อนน้ำเลือด น้ำหนอง

แม้ปัจจุบันประเทศไทยจะปลอดจากโรคคุดทะราดแล้ว แต่เมื่อได้ชมละครพีเรียดอย่างทองเอก หมอยา ท่าโฉลง ได้หยิบยกเรื่องราวของโรคนี้ขึ้นมาอีกครั้งพร้อมการรักษาแบบแผนโบราณดั่งเดิม ทางเราจึงได้รวบรวมเรียบเรียงข้อมูลมาให้ทุกท่านได้ทราบกัน โดยเนื้อหาและที่มาทั้งหมดได้มาจาก


ขอบคุณข้อมูลมากค่ะ 
https://health.kapook.com/view205983.html
https://th.wikipedia.org/wiki/โรคคุดทะราด
http://www.ipesp.ac.th/web/
http://www.pidst.net/A240.html


ท่าโฉลงอยู่ที่ไหน

https://www.facebook.com/cheezebitedotcom/posts/2348498505161781?__xts__[0]=68.ARA23sLCdfrm3YQ6RPjTcFl1stkRWvqJvJPVM0LYFw1n-dghe0l_S6e9Nt4Cq6xbpWJB8NUGaGxA0rkIiUPQARPi5nLbgzbEJF4WOuvt25UmP22C12bf_VvF0eIKIXVVF-LVCSIK1-3n0tnZEJpemcezqWX5S24rOwm5vGzriRqbGo0SO6KokzZFvH1qa8giZrvmCfDXL4iHgfzJ7Ma9fgZNG4G1SB2q5Cn3jNCGmDYiZGJNp6cYGjiZZ7lkqqzs6kiUeJtoWbrQwBicpk1mfnbfFSmvZvACaNZJFsUgsfgFE3yOV-Sx96VWbZgHsNWl32s0B58o5Wy8q2K0NRPRDY7lqw&__tn__=-UC-R

Comments

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.