ถึงบางอ้อ ! ทำไมการบวชต้อง แห่นาค ที่แท้มันมีความหมายแบบนี้เอง !?
งานบวช เป็นประเพณีไทยสืบเนื่องมาแต่โบราณกาล ชายไทยเมื่ออายุครบบวช จะต้องบวชให้ได้สักครั้งหนึ่งในชีวิต เพื่อการศึกษาพระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและสืบทอดอายุพระพุทธสาสนาสร้างกุศลอันยิ่งใหญ่ให้ตนเองและบิดามารดารวมทั้งหมู่ญาติการมีโอกาสได้เป็นนักบวช ดำรงเพศสมณะผุ้ตั้งใจฝึกฝนอบรมตนเองเพียงช่วงระยะเวลาสั้นๆ
ก็สามารถค้นหาแหล่งความสุขที่แท้จริงศึกษาเรื่องราวความจริงของชีวิตเป้าหมายของการเกิดมาเป็นมนุษย์ว่าเกิดมาทำไมตายแล้วไปไหนบาปบุญคุณโทษนรกสวรรค์ภพนี้ภพหน้าและสังสารวัฏ ซึ่งเป็นความรู้ที่มีอยู่แต่ในพระพุทธศาสนาที่ทนทานต่อการพิสูจน์ ช่างภาพงานบวช ถ่ายรูปงานบวช งานบวช
ผู้ที่มาบวชถือได้ว่าเป็นผู้ที่มีบุญมาก เพราะเพศสมณะใช่ว่าใครจะมาอยู่ได้ง่ายๆ ต้องสั่มสมบุญกันมาข้ามภพข้ามชาติ เมื่อบารมีมากขึ้นก็มีโอกาสมาบวชในบวรพุทธศาสนาดูอย่างในสมัยพุทธกาลเป็นต้นแบบผู้ที่จะมาบวชไม่ได้ผู้ด้อยโอกาสแต่เป็นผู้ที่มาจากหลากหลายตระกูล ที่ประสบความสำเร็จในชีวิตเพราะเห็นโทษภัยในการครองเรือนในวัฏสงสารจึงมาออกบวชหลายท่านมาจากตระกูลขัตติยะก็มีแพศย์ก็มีศูทรก็มีการที่ตระกูลกษัตริย์พราหมณ์และมหาเศรษฐีต่างเข้ามาบวชก็แสดงว่าการบวชไม่ใช่เรื่องธรรมดา
ไม่ใช่เรื่องของผู้ด้อยโอกาส แต่เป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่งยวด ช่างภาพงานบวช ถ่ายรูปงานบวช งานบวช CheezeBite ขอเป็นส่วนหนึ่งในการเก็บภาพความทรงจำของการทำบุญครั้งยิ่งใหญ่ในครั้งนี้ด้วยการถ่ายภาพงานบวชบันทึกเรื่องราวด้วยการใช้ภาพงานบวชในการเก็บความทรงจำของครั้งหนึ่งที่ลูกผู้ชายควรทำ
- ประโยชน์ของการบรรพชาและอุปสมบท
- เป็นการทำหน้าที่ของพุทธศาสนิกชน หมายความว่า พุทธศาสนิกชนจะช่วยรักษาพระพุทธศาสนาโดยรักษาพระธรรมวินัยให้เจริญ มั่นคง เพราะว่าพระพุทธศาสนาก็คือ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้ายังดำรงอยู่ ก็จะเป็นประโยชน์แก่คนทั้งหลาย ช่วยให้เขามีชีวิตที่ดีงาม และสังคมที่ร่มเย็นเป็นสุข วิธีที่ดีที่สุดในการรักษาพระพุทธศาสนา ก็คือ การบวชเข้าไปเรียนรู้พระธรรมวินัย และรักษาถ่ายทอดคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าต่อกันไป เรียกว่า สืบต่ออายุพระพุทธศาสนา
- เป็นการทำหน้าที่ของคนไทย หมายความว่า พระพุทธศาสนาเข้ามาอยู่ในสังคมไทย และได้กลายเป็นมรดกของชนชาติไทย คนไทยได้เห็นว่าพระพุทธศาสนาเป็นทรัพย์สมบัติที่มีค่าสูงสุดของประเทศชาติ และสังคมของเราเพราะว่าเมื่อพระพุทธศาสนาเข้ามาแล้ว ก็ให้หลักธรรมคำสอน ทำให้คนประพฤติดีงามเป็นหลักให้แก่สังคม ทำให้สังคมอยู่กันได้ด้วยสันติสุข มีการเบียดเบียนกันน้อยลง ถ้ามีคนดีมากกว่าคนชั่วสังคมนี้ก็อยู่ได้ พระพุทธศาสนาได้ช่วยให้คนมากมายกลายเป็นคนดีขึ้นมา นอกจากนั้นพระพุทธศาสนาเป็นรากฐานของวัฒนธรรม ตั้งแต่ภาษา ขนบธรรมเนียมประเพณี การศึกษา ดนตรีและศิลปะต่าง ๆ ก็มาจากวัดวาอาราม เป็นต้น
- เป็นการสนองพระคุณบิดามารดา ดัง ที่ถือกันเป็นประเพณีว่า ถ้าใครได้บวชลูกแล้ว ก็ได้บุญกุศลมาก ช่วยให้พ่อแม่ได้เกาะชายผ้าเหลืองไปสวรรค์ ตลอดจนได้เป็นญาติของพระศาสนา แต่ถ้ามองความหมายให้ลึกซึ้งลงไปก็เป็นเรื่องความเป็นจริงของชีวิตจิตใจ กล่าวคือ การบวชเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้จิตใจของพ่อแม่มีความสุข มีความปลาบปลื้มใจ ด้วยความหวังว่าเมื่อลูกได้เข้าไปอยู่ในวัด ได้ศึกษาอบรมในพระธรรมวินัยแล้ว ต่อไปก็จะเป็นคนดี จะรับผิดชอบชีวิตของตนเองได้ จะรับผิดชอบต่อครอบครัวและสังคมได้ แล้วเกิดความมั่นใจ พ่อแม่ก็จะมีความสุขเพิ่มมากขึ้น ขณะเดียวกันเมื่อลูกบวช ก็เท่ากับจูงพ่อแม่เข้ามาสู่พระศาสนาด้วย มีโอกาสได้ฟังธรรม ได้เรียนรู้ธรรมะ ทำให้ได้ใกล้ชิดพระศาสนา เรียกว่าเป็นญาติของพระศาสนาอย่างแท้จริง
- เป็นการฝึกอบรมพัฒนาตนเอง คือการพัฒนาชีวิตทั้งในด้านความประพฤติ คือพฤติกรรมทางกาย วาจา และด้านจิตใจที่มีความดีงาม เข้มแข็ง มั่นคง เป็นสุข และในด้านปัญญาคือความรู้ความเข้าใจสิ่งทั้งหลายตรงตามความเป็นจริง
- ขั้นตอนงานบวช
- ให้ญาติผู้ใหญ่ตัดผมนาค แล้วนำเศษผมที่ตักใส่ภาชนะที่มีใบบอนรองไว้
- พระพี่เลี้ยงโกนผมนาค ให้หมดจรด
- กราบมารดา-บิดา ท่านละ 1 ครั้ง (ไม่แบมือ) แล้วรับมอบผ้าไตรจากมารดาบิดาญาติผู้ใหญ่
- แห่นาครอบอุโบสถ
- โปรยทาน บริเวณหน้า อุโบสถ
- คุณพ่อคุณแม่ส่งนาคเข้าพระอุโบสถ
- นาคส่งผ้าไตรให้เจ้าหน้าที่แล้วนำดอกไม้ บูชาที่หน้าพระประธาน
- รอพระอุปัชฌาย์โดยอาการสงบ
- กราบพระอุปัชฌาย์แล้ว หยิบผ้าไตรวางบนแขน เปล่งวาจาขออุปสมบท เอสาหัง พร้อมกัน
- กล่าวจบแล้ววางผ้าไตรลงและฟังพระอุปัชฌาย์สอนกัมมัฏฐานแล้วกล่าว เกสา โลมาฯ
- พระอุปัชฌาย์สวมผ้าอังสะให้นาค
- ออกไปครองผ้าไตรจีวร ด้านหลังพระอุโบสถ (ญาติไปเก็บชุดนาคที่ด้านหลังพระอุโบสถด้วย)
- เปล่งวาจาขอสรณะและศีล ๑๐ จากพระอาจารย์
- เมื่อรับศีลเสร็จแล้วไปที่ศาลาแดง เพื่อรับประเคนบาตรจากบิดามารดา
- คลานเข่าเข้าไปหาพระอุปัชฌาย์ ถวายดอกไม้ธูปเทียนแล้วกล่าวคำขอนิสัย
- พระกรรมวาจารย์คล้องบาตร
- พระคู่สวดสอบถามอันตรายิกธรรม (คุณสมบัติ)
- คลานเข่าเข้ามาท่ามกลางสงฆ์, กราบสงฆ์
- เปล่งวาจาขอญัตติกรรม สังฆัม ภันเต
- ฟังอนุสาสน์บาลีจากพระอุปัชฌาย์
- ถวายเครื่องไทยธรรม กรวดน้ำ เป็นเสร็จพิธี
- แห่นาคทำไม… ทำไมต้องแห่นาค ?
การแห่นาค เป็นการเตรียมกาย วาจา ใจ ของผู้บวช โดยเดินหมุนขวา 3 รอบโบสถ์ หรือพระเจดีย์ หรือศาลา ที่ทำพิธีขอบรรพชา เพื่อแสดงเคารพในพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นการสำรวมจิต ก่อนเข้าไปพบพระพุทธเจ้า (พระพุทธรูปหรือพระประธาน) พระอุปัชฌาย์และคณะสงฆ์ เพื่อขอเข้ารับการบวช ยกตนจากผู้ที่เคารพในพระรัตนตรัย เป็นส่วนหนึ่งของพระรัตนตรัย จึงมีขอควรปฏิบัติ ดังนี้….
การแต่งตัวนาค ควรแต่งด้วยชุดขาวทั้งหมด ซึ่งจะบ่งบอกถึงความสะอาดบริสุทธิ์ ทั้งกาย วาจา ใจ ของผู้ที่จะบวช การแต่งตัวนาค ไม่ควรมีเครื่องประดับประดามากจนเกินไป
- โดยขอแนะนำเครื่องแต่งตัวนาคตามประเพณีนิยมดังนี้
- เสื้อเชิ้ตแขนยาวสีขาว
- สบงขาว
- อังสะขาว
- เข็มขัด หรือสายรัดสำหรับรัดสบง ในส่วนเข็มขัดนี้ ใช้สำหรับรัดสบงขาว ซึ่งส่วนใหญ่จะนิยมใช้เข็มขัดนาคในกรณีที่ไม่มีเข็มขัดนาคจะใช้เข็มขัดอย่างอื่นหรือสายรัดแทนก็ได้ ไม่ใช่ข้อกำหนดตายตัว แต่การใช้เข็มขัดนาคเป็นการปฏิบัติตามประเพณีการบวชพระที่นิยม เพื่อให้สอดคล้องกับคำว่า “นาค” ซึ่งเป็นชื่อเรียกผู้ที่จะบวชในพระพุทธศาสนาเท่านั้น
- เสื้อคลุมนาค
- สร้อยคอ หากมีสร้อยคอจะสวมให้นาคก็ได้ หรือไม่สวมก็ได้ แต่ไม่ควรคล้องพวงมาลัยให้นาค เพราะจากนาคจะกลายเป็นนักร้องแทน
- การเดินประทักษิณเวียนขวารอบสีมา การเวียนประทักษิณในทางพระพุทธศาสนา คือ การกระทำที่สุจริตถูกต้องชอบธรรมทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ การหมุนไปทางขวา คือการหมุนไปสู่ความดีทั้งทางกาย วาจา และใจ ตรงกันข้ามกับการหมุนไปด้านซ้ายเป็นการหมุนทวนความดี คือ การกระทำที่เป็นทุจริตทางกาย วา และใจ การทำประทักษิณเวียนขวารอบสีมาก่อนเข้าอุโบสถของผู้ที่จะบวชพระนี้ นอกจากจะเป็นการแสดงความเคารพตามธรรมเนียมโบราณแล้ว ยังเป็นอุบายที่คนโบราณสอนให้รู้ว่า สิ่งที่จะทำต่อไปนี้เป็นการกระทำที่สุจริตถูกต้องชอบธรรมทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ
- นอกจากนั้นการทำประทักษิณก่อนเข้าสู่พิธีอุปสมบท ยังเป็นช่วงเวลาให้นาคได้มีโอกาสทำสมาธิรวบรวมจิตใจไม่ให้ตื่นเต้นจนเกินเหตุ “ญาติของนาคจึงไม่ควรส่งเสียงหรือโห่ร้อง ร้องรำทำเพลง ประโคมดนตรีอันจะเป็นการรบกวนสมาธิของนาค อีกทั้งไม่ควรให้นาคขี่คอ ขึ้นคานหาม หรือแบกหามซึ่งจะดูไม่เรียบร้อย” หากพลัดตกลงมาอาจเป็นอันตรายจนถึงชีวิตทำให้นาคไม่ได้บวช จึงควรให้นาคเดินตามปกติ โดยให้นาคประณมมือ มีดอกไม้ที่เตรียมไว้อยู่ในมือเดินทำประทักษิณเวียนขวารอบอุโบสถ 3 รอบ จะมีผู้กั้นสัปทนให้นาคก็ได้
- การทำประทักษิณ ให้เริ่มต้นจากสีมาตรงกลางด้านหน้าอุโบสถ (เริ่มจากสีมาที่จะวันทา) ส่วนญาติๆ ถือบริขารพร้อมทั้งเครื่องไทยทานที่จัดเตรียมไว้ ตามความนิยมโดยทั่วไปบิดาจะสะพายบาตรถือตาลปัตร ส่วนมารดาถือพานแว่นฟ้าสำหรับใส่ผ้าไตรครองเดินตามหลังนาค แถวถัดมาเป็นธูปเทียนแพ เครื่องไทยทานสำหรับพระอุปัชฌาย์และพระคู่สวด และเครื่องบริขารอย่างอื่นโดยลำดับ ในขณะเดินให้นาคสวดบทพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ ดังนี้ “อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ ฯลฯ”
- เมื่อเดินครบ 3 รอบแล้ว นาคต้องวันทาสีมาหน้าอุโบสถก่อนเข้าไปในเขตสีมา นาควางดอกไม้เครื่องสักการะไว้บนพานที่เตรียมไว้ บางแห่งให้จุดธูปเทียนด้วย แต่โดยมากนิยมให้ดอกไม้ธูปเทียนไว้บนพานหรืออุปกรณ์อย่างอื่นที่จัดเตรียมไว้ โดยมากไม่จุดธูปเทียน นาคกราบสีมา 3 หน แล้วยืนขึ้นกล่าวคำวันทาสีมา จากนั้นให้นาคนั่งคุกเข่ากราบ 3 หน แล้วเข้าไปภายในอุโบสถ ในขณะเข้าประตูโบสถ์ไม่ควรยกนาคข้ามธรณีประตู หรือยกขึ้นเพื่อเอามือแตะคานประตู ตามที่นิยมปฏิบัติกันโดยขาดความเข้าใจ เพราะอาจพลัดตกลงมาแขนขาหักได้ ให้นาคเดินเข้าอุโบสถตามปกติ โดยบิดามารดาและญาติจะแตะที่ตัวนาคตามเข้าไปก็ได้
หลังจากนั้นอาจจะมีพิธีเลี้ยงเพล เลี้ยงพระใหม่ ต่อไป…
ขอบคุณ : taxze
บทความอื่นที่น่าสนใจ : สรุปดราม่า “ป๊อป ปองกูล” คบซ้อน10 ปี ใครไม่ทันต้องอ่าน
ใส่ความเห็น