ปราสาท “นกหัสดีลิงค์” ความเชื่อของคนโบราณในพิธีศพพระเถระ

ปราสาท “นกหัสดีลิงค์” ความเชื่อของคนโบราณในพิธีศพพระเถระ

ว่ากันว่า นกหัสดีลิงค์ เป็นนกในวรรณคดีไทย ตัวเป็นนก หัวเป็นราชสีห์ มีงวง มีงา มีพละกำลังมากเป็น 5 เท่าของช้าง เนื้อสีแดงเป็นมังสาหารและเป็นพาพนะของผู้มีบุญ ดังนั้นในพิธีงานศพของพระเถระเราจึงเห็นปราสาทบรรจุศพทำเป็นรูปนกหัสดีลิงค์

ในเรื่อง ตํานานนกหัสดีลิงค์ คงจะไม่ใช่เรื่องง่ายนัก หากจะพูดถึงตํานานดังกล่าวอย่างเป็นเอกภาพ เพราะดูเหมือนว่าไม่ว่าจะเป็นกลุ่มคนไทย-ลาว สายล้านช้าง ล้านนา เป็นต้น ต่างก็พยายามผูกเรื่องดังกล่าวขึ้นไว้กับชุมชนของตนเองทั้งสิ้น ดังนั้นการสร้างตํานานนกหัสดีลิงค์ของชุมชน โดยปกติแล้วจะต้องตั้งอยู่บนความเชื่อพื้นฐานของชุมชนนั้นๆ ซึ่งบางครั้งเป็นการยากต่อการหาคําตอบของพฤติกรรมดังกล่าวว่า กระทําขึ้นเพื่ออะไร นอกจากจะหาคําตอบอธิบายกว้างๆ ในลักษณะข้อสังเกตว่า ตํานานนกหัสดีลิงค์นั้นได้ผูกพันกับบรรพบุรุษไทยลาว ไม่ว่าจะเป็นเชียงรุ้ง แสนหวี เป็นต้น

ประเพณีและความเชื่อเกี่ยวกับนกหัสดีลิงค์

นกหัสดีลิงค์ เป็นความเชื่อที่ปรากฏตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 10-13 ในแผ่นดินสุวรรณภูมิ โดยสิ่งที่ปรากฏนั้นเป็นจินตนาการของชุมชน โดยอาศัย คัมภีร์จักภวาฤทีปน์ ซึ่งเป็นคัมภีร์ทางพุทธศานาที่พยายามอธิบายเรื่องราวของโลกและจักรวาล โดยเฉพาะเรื่องป่าหิมพานต์ โดยในป่าดังกล่าวยังได้มีการแบ่งสัตว์ไว้อย่างหลากหลาย เช่น ราชสีห์ เหมราอัศดร มังกรวิหก คชสีห์ สนนร สนรี และนักหัสดีลิงค์ จากบทบาทที่โดดเด่นของวรรณกรรมทางพุทธศาสนา ที่สามารถหล่อหลอมจินตนาการของช่าง ถูกการปรุงแต่งให้เหนือธรรมชาติทั้งรูปลักษณ์และปาฏิหาริย์ เพื่อจะรับความชอบธรรมในบทบาทที่ถูกกําหนดขึ้น เพื่อรับใช้สังคมสืบต่อไป

นกหัสดีลิงค์ ออกเป็น 2 คํา คือ

  • หัสดี (หรือหัสดิน) มีความหมายว่า ผู้ใช้งวงแทนมือ หรือผู้ใช้มือ
  • ลิงค์ (หรือลึงค์) มีความหมายถึง เครื่องหมายทางเพศชาย

เมื่อรวมความหมายแล้วหมายถึง นกที่มีหมายเป็นช้างเป็นองค์ประกอบสําคัญ ซึ่งในที่นี้คือนกที่มีหัวเป็นช้าง หรือ นกที่มีงวงที่ปากเป็นงาช้างที่มองเห็นได้ชัดเจน หรือนกผู้มีงวงเป็นช้าง หรือครึ่งนกครึ่งช้าง

จากความหมายดังกล่าว จึงพอสรุปได้ว่า คติในเรื่องนกหัสดีลิงค์นั้น กรอบความคิดเดิมได้อิงอยู่ในธรรมบทของพุทธศาสนา ที่กล่าวถึงป่าหิมพานต์และกล่าวถึงสัตว์นิทาน และเมื่อคตินิยมกล่าวถึงถอดความหมายมีนัยยะของชุมชนเคลื่อนอยู่ นกดังกล่าวจึงมีลักษณะผิดปกติอย่างสัตว์สามัญเป็นรูป เพราะตัวนั้นเป็นนกที่มีปีกมีหาง แต่ส่วนหัวเป็นช้างมีงวงมีงา

ตํานานนกหัสดีลิงค์ : ประเพณีความเชื่อเกี่ยวกับการเผาศพ

ในเรื่องตํานานนกหัสดีลิงค์คงจะไม่ใช่เรื่องง่ายนัก หากจะพูดถึงตํานานดังกล่าวอย่างเป็นเอกภาพ เพราะดูเหมือนว่าไม่ว่าจะเป็นกลุ่มคนไทย-ลาว สายล้านช้าง ล้านนา เป็นต้น ต่างก็พยายามผูกเรื่องดังกล่าวขึ้นไว้กับชุมชนของตนเองทั้งสิ้น ดังนั้นการสร้างตํานานนกหัสดีลิงค์ของชุมชน โดยปกติแล้วจะต้องตั้งอยู่บนความเชื่อพื้นฐานของชุมชนนั้นๆ ซึ่งบางครั้งเป็นการยากต่อการหาคําตอบของพฤติกรรมดังกล่าวว่า กระทําขึ้นเพื่ออะไร นอกจากจะหาคําตอบอธิบายกว้างๆ ในลักษณะข้อสังเกตว่า ตํานานนกหัสดีลิงค์นั้นได้ผูกพันกับบรรพบุรุษไทยลาว ไม่ว่าจะเป็นเชียงรุ้ง แสนหวี เป็นต้น

ปัจจุบันเป็นตํานานที่ปรากฏพอสรุปได้ 3 กระแส คือ

  • ตํานานนกหัสดีลิงค์กระแสที่ 1 กล่าวว่า…… 

นกหัสดีลิงค์ นั้นจะมีหัวเป็นช้างตัวเป็นนก จะชอบกินช้างหรือสัตว์ใหญ่เป็นอาหาร เช่น คน เสือ ควาย เป็นต้น ครั้นอยู่มาวันหนึ่ง เมื่อนกหัสดีลิงค์ได้จับลูกสาวเจ้าเมืองหลายต่อหลายเมืองมากินเป็นอาหารแล้ว มาหยุดพักที่ ปางทุ่งหลวง เมืองสุวรรณภูมิ เพื่อจะรอจับลูกสาวเจ้าเมืองดังกล่าวกินเป็นอาหาร ครั้นเจ้าเมืองทราบข่าวจึงสืบเสาะหาบุคคลที่มีความสามารถ ที่จะฆ่านกหัสดีลิงค์ จนในที่สุดก็มาถึงเมืองตักศิลาและลูกสาวเจ้าเมืองนั้นชื่อ “เจ้านางสีดา” ซึ่งได้รับมอบคันศรจากพระราชบิดา เพื่อจะนําไปฆ่านกหัสดีลิงค์ และในที่สุดเจ้านางสีดาก็สามารถฆ่านกหัสดีลิงค์ได้

  • ตํานานนกหัสดีลิงค์กระแสที่ 2 กล่าวว่า……

ในกาลครั้งหนึ่งมีเมืองๆ หนึ่งเกิดอาเพศเพราะมีนกหัสดีลิงค์คอยเฝ้าจับคนเป็นอาหาร ทําให้ผู้คนบาดเจ็บและล้มตายเป็นอันมาก แม้แต่เจ้าเมืองยังทรงสวรรคต พระมเหสีทรงโศกเศร้าเสียใจเป็นอันมาก จึงคิดหาหนทางที่จะแก้แค้นโดยการฆ่านกหัสดีลิงค์ จึงได้ป่าวประกาศหาผู้มีความสามารถมาปราบนกหัสดีลิงค์ได้ จะมีรางวัลสมนาคุณให้อย่างงาม ในที่สุดเจ้าหญิงแห่งเมืองตักศิลาได้อาสาปราบนก และสามารถปราบนกดังกล่าวได้ โดยมีศรเป็นอาวุธ ดังนั้นประเพณีเจ้าเมือง จึงได้ทําพิธีเผานกหัสดีลิงค์พร้อมศพเจ้าเมือง โดยมีการจัดวางหีบศพบนหลังนก และสร้างหอแก้วกั้นหีบศพให้สวยงาม และสิ่งดังกล่าวได้สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

  • ตํานานนกหัสดีลิงค์กระแสที่ 3 กล่าวว่า……

มีนครแห่งหนึ่งชื่อ นครเชียงรุ้งตักศิลา เมื่อพระเจ้าแผ่นดินสวรรคต พระมเหสีจึงนําพระบรมศพแห่แหนไปถวายพระเพลิงที่นอกเมือง นกหัสดีลิงค์ หรือ นกสักกะไดลิงค์ ซึ่งบินมาจากป่าหิมพานต์มาเห็น จึงได้โฉบลงมาแย่งพระศพ พระมเหสีจึงหาคนมาปราบนกที่แย่งพระศพ ในที่สุดก็มีหญิงสาวผู้หนึ่งชื่อ “เจ้านางสีดา” มีฝีมือในการยิงธนูเป็นเยี่ยม ได้ใช้ลูกศรยิงนกตกลงมาตาย พระมเหสีจึงให้ประกอบพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพร้อมนกใหญ่ จึงกลายเป็นธรรมเนียมตั้งแต่นั้นมา

ก่อนสร้างนกหัสดีลิงค์ 1 วัน จะต้องมีการบวงสรวงเพื่อเป็นศิริมงคลและการเตรียมการบวงสรวง ยังเป็นการเตรียมขั้นต้นของการเตรียมร่างทรงนางสีดา ที่จะมาฆ่านกหัสดีลิงค์อีกด้วย โดยมีเครื่องบวงสรวง ดังนี้

  • คาย (ค่าครู) เป็นเงิน 11 ฮาง
  • ขันหมากเบ็งซ้ายขวา 2 คู่
  • ขัน 5 ขัน 8 อย่างละ 1 ขัน
  • ขันผ้านุ่งซิ่นและเมรุ 1 ขัน
  • เหล้า 1 ไห (ขวด)
  • หัวหมู 1 ชุด
  • ผ้าขาวยาว 5 ศอก 1 ผืน
  • ไก่ต้ม 1 ตัว
  • ข้าวต้ม ขนมหวาน ขันน้ํา หมาก พลู บุหรี่

ลักษณะของนกหัสดีลิงค์ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าฝีมือเชิงช่างมีความพิถีพิถันสูงมาก เพราะนกหัสดีลิงค์ที่สร้างขึ้นจะไม่ใช้ตะปูเป็นส่วนประกอบ แต่จะใช้วิธีการเข้าลิ่ม และจะใช้หวายมัดแทน และลักษณะอีกประการหนึ่งคือจะต้องสร้างให้นกเหมือนมีชีวิตจริง คือสามารถลืมตา อ้าปาก ส่งเสียงร้อง และสะบัดงวงได้ด้วย

อ้างอิง

สุจิตต์ วงษ์เทศ. หลวงพ่อขี้หอม. กรุงเทพฯ : มติชน, 2544.
สุวิชช คูณผล. ตําานานนกหัสดีลิงค์และวิธีเผาศพ. ม.ป.ท. : ม.ป.ป.
อรรถ นันทจักร์. รวมบทความว่าด้วยนกหัสดีลิงค์. มหาสารคาม : ประสานการพิมพ์, 2536.

 

 

 

ขอบคุณบทความจาก : isangate

บทความอื่นที่น่าสนใจ : น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ เดินตามรอยเบื้องพระยุคลบาท ‘คำพ่อสอน’

 

Comments

3 ตอบกลับไปที่ “ปราสาท “นกหัสดีลิงค์” ความเชื่อของคนโบราณในพิธีศพพระเถระ”

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.