สถิติการปล่อยก๊าชคาบอนไดออกไซค์ในทุกที่ทั่วโลกเพิ่มสูงขึ้นจนหน้าเป็นห่วง ถึงแม้จะมีการรณรงค์ หรือการทำพันธะสัญญาต่างๆระหว่างประเทศมากมาย แต่ก็มีผลเพียงเล็กน้อย จนกระทั้งเมื่อเร็วๆนี้ มีสถิติหนึ่งที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก ของประเทศเล็กๆประเทศหนึ่งอย่าง ภูฏาน ที่สถิติ การปล่อยก๊าชคาบอนไดอ๊อกไซค์ของประเทศนั้น ติดลบ

ภูฎาน : Bhutan หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า ราชอาณาจักรภูฏาน เป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียที่มีขนาดเล็ก และมีภูเขาเป็นจำนวนมาก และยังตั้งอยู่ในเทือกเขาหิมาลัยอีกด้วยนะ ซึ่งอยู่ระหว่างประเทสจีนและอินเดีย
ถ้ายังนึกไม่ออกว่าอยู่ตรงไหนใกล้ไกลประเทสไทยยังไง คลิ๊กที่นี่ เอกสารเพิ่มเติม
แค่ได้ทราบภูมิประเทศก็รู้สึกได้เลยว่าอากาสต้องดีมากแน่ๆ สิ่งที่ทำให้รู้สึกว่าอากาศดีขึ้นไปอีกคือ ประเทศภูฏานหนาวเย็นตลอดทั้งปี โดยช่วง เดือนมีนาคม-พฤษภาคม และเดือนกันยายน-พฤศจิกายน จะเป็นช่วง High Season ส่วนช่วงเดือนธันวาคม-เดือนกุมภาพันธ์ จะเป็นฤดูหนาว อากาศจะหนาวเย็นมาก ส่วนช่วง Low Season จะอยู่ระหว่างเดือนมิถุนายน-สิงหาคม เพราะในช่วงนี้จะเป็นฤดูฝน ท้องฟ้าหม่นหมอง แต่ถึงจะช่วงไหน อากาศก็เรียกได้ว่าเย็นกว่าบ้านเราเยอะคะ เราพอจะทราบภูมิประเทศคร่าวๆแล้ว ที่นี้มาดูสิว่า ปัจจัยอะไรนะ ที่ทำให้ ประเทศภูฏาน เป็นประเทศที่ ปราศจาก ก๊าชคาบอนไดออกไซค์
ปัจจัยที่ 1 ประเทศภูฏาน มีพื้นที่ป่าปกคลุม คิดเป็นร้อยละ 72 เปอร์เซนต์ ของพื้นที่ทั้งประเทศ
ปัจจัยที่ 2 ประเทศภูฏาน มีกฏหมายกำหนดนโยบายในรัฐธรรมนูญไว้ว่า ประเทศจะต้องมีพื้นที่ป่าไม่น้อยกว่า 60 เปอร์เซนต์
ปัจจัยที่ 3 ประเทศภูฏาน มีการปล่อยก๊าชคาร์บอน เพียง 1.5 ล้านตัน ต่อปี แต่ พื้นที่ป่าของที่นี้สามารถดูดซับคาร์บอนได้ถึง 6 ล้านตัน ต่อปี เหลือๆ
และนั้นจึงทำให้ ประเทศภูฏาน มีปริมาณคาร์บอนไดออกไซค์ ติดลบ ประเทศเดียว ในโลก และสิ่งสำคัญอีกอย่างคือ ประเทศภูฏานผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานน้ำ และส่งออกไฟฟ้าด้วยพลังงานสะอาดให้แก่ประเทศเพื่อนบ้าน จึงทำให้ประเทศเพื่อนบ้านนั้นลดการก่อคาร์บอนลงไป ถึง 6 ล้านตัน ต่อปี
เท่านั้นยังไม่พอ ประเทศภูฏาน ยังตั้งเป้าหมายการส่งออกไฟฟ้า ภายในปี ค.ศ.2020 ให้เพิ่มมากขึ้นอีก เพื่อลดการใช้คาร์บอน 17 ล้านตัน ต่อปี และกำลังจะลงทุนพลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์ ในอนาคต
ประเทศภูฏาน จึงเป็นแประเทศที่ รักษา สัญญากับนานาประเทศ เกี่ยวกับการลดการปล่อยก๊าชคาร์บอน ในการประชุม COP ตั้งแต่ ปี ค.ศ.2009 ซึ่งในหลายๆประเทศยังไม่สามารถลดปริมาณก๊าชดังกล่าวได้ ถึงแม้ความได้เปรียบทางภูมิศาสตร์ของประเทศจะมีอยู่ไม่น้อย แต่การกำหนดนโยบายและการใช้พลังงานสะอาดของประเทศภูฏาน มีส่วนเป็นอย่างยิ่งในการรักษาสภาพแวดล้อมของประเทศไว้ คาดว่าปอดแห่งใหม่ของโลก น่าจะเป็นทีนี้ละคะ
https://www.facebook.com/ThaiPBSFan/videos/10160085011170085/
ใส่ความเห็น